top of page
Writer's pictureregagar

โรคหัด ในเด็ก ภัยร้ายที่พ่อแม่ต้องรู้

โรคหัด เป็นโรคไข้ออกผื่นชนิดหนึ่ง ที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน ยังไม่รู้จัก ซึ่งโรคนี้สามารถเป็นได้ทุกฤดู เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ และเรียนรู้วิธีการสังเกตอาการ การดูแลรักษาเมื่อลูกน้อยมีอาการนี้ไปด้วยกันนะคะ

โรคหัด

โรคหัด คือ

โรคหัด หรือ Measles  เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสมีชื่อว่า Measles virus ซึ่งเป็นหนึ่งในไวรัสกลุ่มพารามิกโซไวรัส (Paramyxoviridae family) โรคนี้สามารถพบได้ในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ในเด็กมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่า และเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก แม้จะมีวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม โรคนี้ติดต่อได้ง่ายมากผ่านทางอากาศ หรือการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ก็สามารถแพร่เชื้อส่งต่อกันได้แล้ว

อาการของโรคหัด ในเด็ก

  • ระยะเริ่มแรก : ไข้สูง ต่อมาจะเริ่มมีอาการไอ มีน้ำมูก ตาแดง อาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เป็นประมาณ 2-4 วันก่อนออกผื่น

  • ช่วง Koplik's spots : เริ่มมีจุดเล็กๆ สีขาวในปาก ข้างกระพุ้งแก้ม เป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัด โดยจะขึ้นในช่วง 2-3 วัน ที่เป็นโรค

  • ระยะออกผื่น : จะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นตามตัว โดยเริ่มจากใบหน้า จากนั้นจะเริ่มลามไปทั่วตัว มีลักษณะนูนแดง แล้วผื่นจะค่อยๆ จางหาย ในเวลาประมาณ 7 วัน

  • อาการอื่นๆ : อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน

อาการ โรคหัด

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

อย่างที่บอกไปแล้วข้างต้นว่า โรคนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเป็นอันตรายที่เสี่ยงจะทำให้เกิดการเสียชีวิต ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนั้นมีดังนี้

  • ปอดบวม : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ

  • หูชั้นกลางอักเสบ : เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำเหลือง

  • สมองอักเสบ : เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุด อาจทำให้เสียชีวิตได้เลย

  • โรคตับอักเสบ


วิธีการดูแลรักษาโรคหัดในเด็ก

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับโรคหัด การรักษามุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และดูแลสุขภาพทั่วไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน หากมีอาการรุนแรง เช่น ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ หรือสมองอักเสบ ควรรีบพาไปพบแพทย์

วิธีรักษา โรคหัด

วิธีการป้องกันโรคหัด

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles, Mumps, Rubella)  : เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนตามกำหนด โดยมักจะฉีดให้เด็กตั้งแต่อายุ 9-12 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย : หากมีผู้ป่วยในบ้าน ควรแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่นๆ และสวมหน้ากากอนามัย

  • รักษาสุขอนามัย : ล้างมือบ่อยๆ

Comments


bottom of page