top of page
Writer's pictureregagar

5 โรคหน้าฝน เกี่ยวกับผิวหนัง ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง!!

หน้าฝนแบบนี้ หนีไม่พ้นเรื่องของ โรคหน้าฝน ที่จะตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากน้ำ จากการสะสมของแบคทีเรีย หรือเชื้อราต่าง ๆ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาผิวหนังได้วันนี้เราจึงมาทำความรู้จักกับ 5 โรคผิวหนังหน้าฝน ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง เพราะสามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่กัน พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีดูแลรักษา และการป้องกันโรคต่าง ๆ เหล่านี้กันด้วยค่ะ

โรคหน้าฝน ที่เกี่ยวของกับผิวหนัง

โรคผิวหนังที่พบได้บ่อยและมักเป็นกันได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสทางผิวหนัง ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. โรคผื่นผิวหนังกลาก เกลื้อน : หน้าฝนแบบนี้ก็มักมีปัญหาเรื่องของการอับชื้น แบคทีเรียต่าง ๆ มากมาย ถึงแม้ว่ากลาก เกลื้อน จะไม่ได้เกิดขึ้นในเด็กบ่อยหนัก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเฝ้าระวังดูแลผิวลูกน้อยและผิวคุณพ่อคุณแม่ไว้เช่นกัน

โรคหน้าฝน กลาก เกลื้อน

  • สาเหตุของโรคนี้ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่มาในหน้าฝน ซึ่งจะติดเชื้อทางผิวหนังและอาจเกิดได้จากที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราเองด้วย

  • ลักษณะของกลาก : มีลักษณะผื่นเป็นวงมีขอบชัด รอบ ๆ ขอบจะมีลักษณะเป็นขุย มันจะมีอาการคันมาก่อน แล้วจากนั้นจะมีผื่นแดงขึ้นตามมา และคันมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

  • ลักษณะของเกลื้อน : มีผื่นเป็นวง กระจายอยู่ทั่วร่างกาย มักมีขุยที่ละเอียดและสีที่แตกต่างกัน

  • บริเวณที่พบผื่น : หน้าอก หลัง ไหล่ คอ หนังศีรษะ รักแร้ ข้อพับ ฝ่าเท้า

  • วิธีการดูแลรักษา : อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดทันทีเมื่อโดนฝนหรือกลับถึงบ้าน เพื่อขจัดคราบแบคทีเรียต่าง ๆ และทาครีมที่มีส่วนช่วยในการลดผดผื่น หรือครีมทากลากเกลื้อน เพื่อให้ผื่นหาย สำหรับลูกน้อยควรเลือกครีมที่ช่วยในการบำรุงผิวให้กลับมาแข็งแรงด้วย เพื่อลดการเกิดผดผื่นซ้ำ

2. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง : โรคนี้มักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก มาดูสาเหตุและวิธีการดูแลป้องกันกันได้เลย

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

  • สาเหตุของโรคนี้ : เกิดจากภูมิแพ้อากาศ หรือจากอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในช่วงหน้าฝนที่ความเปลี่ยนแปลงไปมา

  • ลักษณะของผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง : ในเด็กเล็กมักมีลักษณะผื่นแดง ผิวแห้ง ผื่นหนา เป็นขุยมีสะเก็ด และมีอาการคันรวมด้วย หากปล่อยไว้ อาจจะทำให้กลายเป็นผื่นอักเสบมีแผลพุพอง และอาจมีการติดเชื้อ มีน้ำเหลืองติดตามแผลได้

  • บริเวณที่พบผื่น : ข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แก้ม แขน ขา ซอกคอ

  • วิธีการดูแลรักษา : หลีกเลี่ยงปัจจัยหรือตัวกระตุ้นอย่าง อากาศที่เปลี่ยนแปลงไปมา เพราะอาจจะทำให้ผื่นกำเริบได้ เน้นการดูแลความสะอาดผิวหนังอย่างถูกวิธี เลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่ช่วยในการขจัดคราบแบคทีเรียบนผิวให้ลูกน้อยและตัวคุณพ่อคุณแม่เอง และควรบำรุงผิวลูกน้อยด้วยครีมหรือโลชั่น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกน้อยและคุณพ่อคุณแม่ รวมไปถึงลดผดผื่นที่เกิดขึ้น และลดการเกิดผื่นซ้ำอีกด้วย

3. โรคผื่นแพ้น้ำลายยุง แมลงต่าง ๆ : หน้าฝนแบบนี้คงเลี่ยงที่จะเจอกับยุง แมลงต่าง ๆ ไม่ได้ ซึ่งแมลงเหล่านี้ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยเกิดเป็นตุ่ม เป็นผื่นแดง ผื่นคันได้ นอกจากนี้ที่ต้องระวังอีกอย่างก็คือ ด้วงก้นกระดก เพราะเป็นสัตว์มีพิษ และมักออกมาในช่วงหน้าฝน ซึ่งสัตว์ชนิดนี้ ไม่ใช่แค่ทำให้เกิดผดผื่นเท่านั้น แต่ยังทำให้ผิวไหม้ ผิวอักเสบ เป็นแผลพุงพองได้เลย

ผื่นแพ้น้ำลายยุง

  • สาเหตุที่ทำให้เกิดผื่น : เนื่องจากในยุง หรือแมลงอื่น ๆ นั้น จะมีสารบางอย่างอยู่ในน้ำลาย หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อมาสัมผัสกับผิวของเราหรือผิวของลูกน้อยที่ยิ่งมีความบอบบางมากกว่าเรา จึงทำให้เกิดผดผื่นแพ้ตามมาได้นั่นเอง

  • ลักษณะของผื่น : มีตุ่มบวมแดงใหญ่กว่าปกติ บางรายอาจมีตุ่มน้ำพอง มีรอยจ้ำเลือด มีอาการคันร่วมด้วยอย่างรุนแรง ในบางรายที่มีอาการแพ้มากกว่าปกติ จะมีอาการตาบวม ปากบวม ร่วมด้วย

  • บริเวณที่พบผื่น : เป็นได้ทั่วร่างกาย ทั้ง แขน ขา ใบหน้า

  • วิธีการดูแลรักษา : เมื่อเริ่มมีอาการให้ใช้น้ำสะอาดเช็ดหรือล้างทำความสะอาดทันที แนะนำให้ล้างออก 1 – 2 ครั้ง หรือจะอาบน้ำด้วยผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่ช่วงลดแบคทีเรียก็ได้ จากนั้นให้ทาครีมลดรอยยุงกัดที่บริเวณตุ่มยุงกัด หรือประคบเย็น กดไว้ 2-3 นาที เลี่ยงการเกา ไม่ให้ผื่นลุกลามไปที่อื่น แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าเป็นด้วงก้นกระดกกัด แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาถูกวิธี และพยายามไม่เกาบริเวณที่ถูกกัด

4. โรคผื่นกุหลาบ : โรคนี้เป็นกันมากในช่วงหน้าฝน และมักพบได้บ่อยในช่วงอายุ 10 -35 ปี และไม่ค่อยพบในกลุ่มเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน

ผื่นกุหลาบ

  • สาเหตุที่ทำให้เกิดผื่น : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแรมิตส์เซอร์เอสพิส (Human herpesvirus 6, HHV-6) หรือบางครั้งอาจเกิดจากไวรัสฮิวแรมิตส์เซอร์เอสพิสบี (Human herpesvirus 7, HHV-7) เป็นต้น

  • ลักษณะของผื่น : เริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นผื่นสีชมพู ขึ้นเป็นวง มีขุยรอบวง จากนั้นจะเริ่มมีอาการคันร่วมด้วย และผื่นจะมีลักษณะที่คล้ายกับต้นคริสต์มาส

  • บริเวณที่พบผื่น : หลัง หน้าอก ใบหน้า คอ ใบหน้า หนังศีรษะ หน้าท้อง บางรายอาจพบอยู่ใกล้กับอวัยวะเพศ

  • วิธีการดูแลรักษา : ผื่นกุหลาบเป็นผื่นที่หายได้เองใน 3 เดือน แต่แนะนำให้เลี่ยงการอาบน้ำร้อน น้ำอุ่นจัด เลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่อ่อนโยน ไม่ทำให้ผิวแห้ง เลี่ยงอากาศร้อนอบอ้าว และทาโลชั่นลดผื่น บรรเทาอาการคัน

5. โรคมือ เท้า ปาก : เรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีช่วงหน้าฝนเลยทีเดียว เพราะสามารถติดต่อกันได้ง่าย ผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น

มือ เท้า ปาก

  • สาเหตุที่ทำให้เกิดผื่น : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Enterovirus ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ต้องระวังเป็นพิเศษก็คือ เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71หรือ EV71) เพราะเป็นสายพันธุ์ชนิดรุนแรง เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน ถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • ลักษณะของผื่น : เริ่มจากมีไข้อ่อน ๆ อ่อนเพลียง่าย วันต่อมาเจ็บปาก เริ่มมีตุ่มแผลในปาก เพดาน ลิ้น กระพุ้งแก้ม และอาจจะลามออกมาริมฝีปากด้วย ต่อๆ มาเริ่มมีตุ่มแดง มีตุ่มน้ำใส ตามบริเวณ ก้น นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมถึงบริเวณง่ามนิ้ว

  • วิธีการดูแลรักษา : หากมีไข้ ให้ทานยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลด และหากทานอาการไม่ได้ เจ็บปาก เจ็บคอ ให้ทาน้ำ นม หรืออาหารอ่อน เพื่อลดความเสี่ยงอาการขาดน้ำ ขาดอาหาร หรือทานน้ำแข็ง ไอศกรีม เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปากได้

ในช่วงหน้าฝนนอกจากโรคผิวหนังแล้ว ยังต้องระวังโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคท้องร่วง โรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น ส่วนโรคผิวหนังต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลผิวตัวเองและลูกน้อยได้ตามที่แนะนำมาได้เลยค่ะ




“เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้”

ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์

คลิก Inbox : http://m.me/regagarth

Line : @regagar ( https://bit.ly/3cNxa0D)

Comments


bottom of page