top of page
Writer's pictureregagar

ผื่นแพ้นมวัว มีอาการแบบใด และควรดูแลรักษาอย่างไร

ผื่นแพ้นมวัว เป็นปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุไม่เกิน 1 ปีรับประทาน หรือช่วงวัยที่ทารกเริ่มทานอาหารเสริม หรือเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมวัว ผื่นแพ้นมวัวไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความกังวลในตัวเด็ก แต่ยังเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย ดังนั้นการเข้าใจอาการ สาเหตุ และวิธีการดูแลรักษาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ผื่นแพ้นมวัว

อาการของ ผื่นแพ้นมวัว

อาการของแพ้นมวัวนั้น แสดงออกมาได้หลายหลากช่องทาง ทั้งทางผิวหนัง ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ซึ่งอาการของแพ้นมวัวสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ อาการที่เกิดเฉียบพลัน และอาการที่เกิดแบบเรื้อรัง :

  1. อาการเฉียบพลัน (Acute Symptoms) - ผื่นลมพิษ (Urticaria) : ผื่นแดง มีลักษณะบวมและคัน ตามใบหน้า ลำตัว และแขนขา มักเกิดทันทีหลังรับประทานนมวัว - อาการบวม (Angioedema) : บริเวณใบหน้า ริมฝีปาก หรือตา อาจมีอาการบวมร่วมด้วย - ปัญหาระบบทางเดินหายใจ : หายใจเสียงหวีด ไอ หรือหายใจลำบาก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือมีอาการคัดจมูก - อาการทางระบบทางเดินอาหาร : คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้องทันทีหลังดื่มนม - ช็อกแบบภูมิแพ้ (Anaphylaxis) : กรณีที่รุนแรงที่สุด มีความเสี่ยงถึงชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ผื่น แพ้นมวัว

  1. อาการเรื้อรัง (Chronic Symptoms) - ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) : เป็นผื่นแดงแห้งและคัน มักเกิดบริเวณแก้ม ข้อพับ หรือผิวหนังที่สัมผัสกับนม - มีปัญหาการย่อยอาหาร : ท้องเสีย หรือถ่ายมีมูกเลือด น้ำหนักตัวไม่ขึ้น ไม่เจริญเติบโต - ลูกน้อยหงุดหงิดง่าย : อาจร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ หรือไม่สบายตัว โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

สาเหตุของการแพ้นมวัว

การแพ้นมวัวเกิดจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ตอบสนองต่อโปรตีน โดยมองว่าโปรตีนนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยโปรตีนที่เป็นตัวกระตุ้นหลัก ได้แก่ เคซีน (Casein) และ เวย์ (Whey)

สาเหตุ แพ้นมวัว

ปัจจัยที่ทำให้เด็กบางคนเสี่ยงต่อการแพ้นมวัวมากขึ้น ได้แก่

  • กรรมพันธุ์ : เด็กที่พ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติแพ้อาหารหรือเป็นโรคภูมิแพ้จะมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นกว่าครอบครัวที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้เลย

  • อายุ : เด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีแรก มีโอกาสเกิดการแพ้นมวัวสูงกว่าเด็กโต

  • ระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ : ทำให้ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมไวเกินไป


วิธีดูแลรักษาเมื่อลูกน้อยมีอาการแพ้นมวัว

  1. หยุดการให้นมวัวทันที : หากเด็กยังดื่มนมแม่ ให้คุณแม่หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัวทั้งหมด รวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัว เช่น เนย ชีส และโยเกิร์ต

  2. เปลี่ยนสูตรนม : ในกรณีที่เด็กดื่มนมผสม อาจเปลี่ยนไปใช้นมสูตรที่ไม่มีโปรตีนจากนมวัว หรือตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น - นมสูตรโปรตีนย่อยบางส่วน (Extensively Hydrolyzed Formula): โปรตีนในนมถูกย่อยเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ลดโอกาสการแพ้

    - นมสูตรกรดอะมิโน (Amino Acid-Based Formula): สำหรับเด็กที่แพ้อย่างรุนแรง

    - นมถั่วเหลือง : ใช้ในกรณีที่เด็กไม่มีประวัติแพ้ถั่วเหลือง

ผื่นแพ้นมวัว

  1. รักษาอาการที่เกิดขึ้น : ใช้ยาทาสำหรับลดอาการผื่นและคัน  ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาลดอาการภูมิแพ้ เช่น ให้ยาต้านฮีสตามีนในกรณีที่มีลมพิษ เพื่อลดอาการคันและบวม หรืออาจให้ยาสเตียรอยด์ (Steroids) ในกรณีที่อาการรุนแรง

  2. พบแพทย์ติดตามอาการของลูกน้อยเสมอ : คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามผลและตรวจสอบความคืบหน้าของอาการ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบภูมิแพ้ (Allergy Testing) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยเพิ่มเติม



การป้องกันผื่นแพ้นมวัวในเด็ก

  • การให้นมแม่ล้วนในช่วง 6 เดือนแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอาการแพ้

  • หากจำเป็นต้องใช้นมผสม ควรเลือกสูตรที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

  • ควรระมัดระวังการให้อาหารเสริม  เมื่อเริ่มให้อาหารเสริม ควรเริ่มทีละชนิดและสังเกตอาการแพ้ด้วยว่า ลูกน้อยมีอาการแพ้หรือไม่



อาการแพ้นมวัวอาจสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ แต่การดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ลูกน้อยก็มักจะหายจากอาการแพ้เองได้เมื่อโตขึ้น การใส่ใจดูแลเรื่องอาหารและการปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

Comments


bottom of page