ผื่นเด็ก ที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว มีอะไรบ้างมาดูกัน ต้องบอกเลยว่าในช่วงฤดูหนาวมักทำให้ผิวเด็กแห้งแตกง่าย ส่งผลให้ผื่นต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าผื่นแบบไหนที่พบบ่อยในช่วงนี้ และเราจะดูแลผิวของลูกน้อยอย่างไรดี เรามาทำความเข้าใจไปด้วยกันเลย
ผื่นเด็ก ที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว
โดยส่วนใหญ่แล้วผื่นเด็กที่จะพบมาในช่วงหน้าหนาว จะเป็นเรื่องของปัญหาผิวแห้ง แล้วส่งผลไปเกิดผื่นอื่นๆ ตามมาได้ ซึ่งผื่นที่พบได้บ่อยก็คือ
1. ผื่นผิวแห้ง (Dry Skin Rash)
เป็นภาวะที่ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น จนทำให้ผิวแห้ง ลอก แตกเป็นขุย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาวที่อากาศแห้งและเย็น ซึ่งทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายขึ้น ผื่นผิวแห้งอาจเกิดได้ทั่วร่างกาย แต่มักพบบ่อยบริเวณแขน ขา และแก้มของเด็ก
สาเหตุของผื่นผิวแห้ง :
อากาศแห้งและเย็น : ความชื้นในอากาศลดลงทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
การอาบน้ำอุ่น : น้ำอุ่นจัดจะทำให้ผิวสูญเสียไขมันที่ทำหน้าที่ปกป้องผิว ทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่อ่อนโยน : สบู่หรือครีมอาบน้ำที่มีสารเคมีรุนแรง หรือมีค่าความเป็นด่างสูง อาจทำให้ผิวแห้งและระคายเคือง
การขาดการบำรุงผิว : หากไม่ได้ทาครีมหรือโลชั่นบำรุงหลังอาบน้ำ ผิวอาจสูญเสียความชุ่มชื้นอย่างรวดเร็ว
การดูแลผื่นผิวแห้งในเด็ก :
ทาครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์ หลังอาบน้ำทันที ครีมบำรุงช่วยเคลือบผิวและป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้น
หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด และควรลดเวลาอาบน้ำให้น้อยลงเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในผิว
เลือกสบู่หรือครีมอาบน้ำที่อ่อนโยน ไม่มีสารเคมีที่รุนแรงและไม่มีน้ำหอม เพื่อป้องกันการระคายเคืองผิว
ในกลุ่มเด็กวัยซนควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นจากภายใน
2. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema หรือ Atopic Dermatitis) เป็นภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่มักเกิดในเด็กและมีอาการแสดงออกเป็นผื่นแดง คัน และผิวแห้ง โรคนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น หอบหืดหรือภูมิแพ้อากาศ อาการอาจรุนแรงขึ้นในช่วงที่มีปัจจัยกระตุ้น เช่น อากาศแห้ง การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือการสัมผัสสารที่ระคายเคืองผิว อาการของผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง :
ผิวแห้ง คัน และเป็นผื่นแดง : อาการคันอาจรุนแรงจนทำให้เด็กเกาหรือข่วนจน
ผื่นขึ้นตามบริเวณข้อพับ : เช่น ข้อศอก ข้อพับเข่า และรอบคอ
ผิวหนาและลอก : ผิวที่เป็นผื่นเรื้อรังอาจหนาและลอกตามมาเมื่อเกาหรือข่วนบ่อยครั้ง
อาจมีน้ำเหลืองหรือแผลเปิด : หากมีการเกาผิวอย่างรุนแรง ผิวอาจติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
การดูแลและป้องกันผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก :
ทาครีมบำรุงที่มีมอยส์เจอไรเซอร์ : เพื่อป้องกันผิวแห้ง ควรทาครีมบำรุงหลังอาบน้ำและบ่อยๆ ในช่วงที่อากาศแห้ง
ใช้สบู่ที่อ่อนโยน : เลือกสบู่หรือครีมอาบน้ำที่ไม่มีสารเคมีรุนแรงและไม่มีน้ำหอม
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นผิว : เช่น การใช้เสื้อผ้าที่มีเส้นใยหนาหรือสารย้อมสีที่อาจก่อการระคายเคือง
รักษาความสะอาด: ล้างมือและรักษาความสะอาดของผิวเพื่อลดโอกาสติดเชื้อ
3. ผื่นลมพิษเย็น (Cold Urticaria)
เป็นปฏิกิริยาผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อผิวสัมผัสกับความเย็น ทำให้เกิดผื่นแดง บวม คัน หรืออาจเป็นตุ่มนูนขึ้นในบริเวณที่โดนอากาศหนาว ของเย็น หรือน้ำเย็น อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน
อาการของผื่นลมพิษเย็น :
ผื่นแดงและตุ่มนูนคัน : ผื่นและตุ่มนูนอาจเกิดขึ้นในบริเวณที่สัมผัสกับความเย็น เช่น มือ เท้า ใบหน้า หรือส่วนของร่างกายที่ไม่ปกปิด
อาการบวม : บางครั้งอาจเกิดอาการบวมในบริเวณที่สัมผัสความเย็น เช่น ริมฝีปากที่สัมผัสน้ำเย็น หรือมือที่สัมผัสวัตถุเย็น
อาการรุนแรง : ในบางกรณีที่แพ้ความเย็นรุนแรง อาจมีอาการหายใจลำบาก หน้ามืด หรือความดันโลหิตลดลงหลังสัมผัสความเย็น ควรพบแพทย์ทันที
สาเหตุของผื่นลมพิษเย็น :
ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันเมื่อสัมผัสกับความเย็น ซึ่งอาจเป็นกรรมพันธุ์หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันในบางช่วงของชีวิต
การดูแลและป้องกันผื่นลมพิษเย็น :
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับของเย็น : พยายามป้องกันร่างกายจากการสัมผัสอากาศหนาวหรือของเย็น เช่น สวมถุงมือ ผ้าพันคอ และเสื้อกันหนาว
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเย็นจัด : โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติอาการรุนแรง
ทายาหรือรับยาตามคำแนะนำของแพทย์ : ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้หรือยาที่ช่วยลดอาการคันและบวม
4. ผื่นผิวแตก (Chapped Skin)
ภาวะที่ผิวหนังสูญเสียความชุ่มชื้นจนเกิดอาการแห้ง แตก หรือลอกเป็นขุย ซึ่งอาจเกิดอาการแดง คัน หรือระคายเคืองร่วมด้วย ภาวะนี้พบได้บ่อยในช่วงอากาศเย็นและแห้ง หรือในกรณีที่ผิวหนังสัมผัสกับลมและแสงแดดเป็นเวลานาน ผิวที่แห้งและแตกมักเกิดได้ง่ายในเด็ก เนื่องจากผิวของเด็กมีความบอบบางและไวต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าผิวของผู้ใหญ่
อาการของผื่นผิวแตก :
ผิวแห้งและลอกเป็นขุย : ผิวจะมีลักษณะแห้ง สาก และอาจลอกเป็นขุยเล็กๆ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า มือ ริมฝีปาก และข้อศอก
อาการคันและระคายเคือง : ผิวที่แห้งมากจะมีอาการคัน ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายและเกาผิวบ่อย
ผิวแดงและอักเสบ : หากมีการเกาหรือข่วนบ่อยครั้ง ผิวอาจมีการอักเสบและกลายเป็นสีแดง
สาเหตุของผื่นผิวแตก :
อากาศแห้งและเย็น : ความชื้นในอากาศลดลง ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายขึ้น
การสัมผัสกับลมและแสงแดด : ผิวที่สัมผัสกับลมแรงหรือแสงแดดนานๆ จะสูญเสียความชุ่มชื้นและเกิดการแตกได้
การล้างหรือถูผิวบ่อยเกินไป : โดยเฉพาะการล้างด้วยน้ำอุ่นจัด จะทำให้ผิวสูญเสียไขมันธรรมชาติที่ช่วยเก็บความชุ่มชื้น
ผิวขาดการบำรุง : หากไม่ใช้ครีมหรือโลชั่นบำรุงหลังอาบน้ำ ผิวจะขาดการปกป้องและแห้งแตกง่ายขึ้น
การดูแลและป้องกันผื่นผิวแตก :
ทาครีมบำรุงที่มีมอยส์เจอไรเซอร์ : ควรทาครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์ทันทีหลังอาบน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในผิว
เลี่ยงการใช้น้ำอุ่นจัดอาบน้ำ : อาบน้ำอุ่นในอุณหภูมิที่พอดีจะช่วยให้ผิวไม่สูญเสียความชุ่มชื้นมากเกินไป
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวเด็ก : เลือกสบู่และโลชั่นที่ไม่มีสารเคมีรุนแรงหรือน้ำหอม
ป้องกันผิวจากลมและแสงแดด : ใช้เสื้อผ้าที่ปกป้องผิวจากลมและทาครีมกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง
แล้วเมื่อไรควรพาลูกน้อยที่มีผื่นในช่วงฤดูหนาวไปพบแพทย์ :
ผื่นที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยาวนาน ภายใน 2-3 วันยังไม่หาย
ผื่นลุกลามมากขึ้น
ลูกน้อยมีไข้สูง
ลูกน้อยร้องไห้บ่อยและดูไม่สบายตัว
มีอาการบวมที่ผิดสังเกต
มีอาการหายใจติดขัด เสี่ยงที่จะแพ้รุนแรง
การดูแลผิวให้ลูกน้อยอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของผื่นต่างๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดกับผิวลูกน้อย และดูแลให้ถูกวิธี หรือทำตามที่คุณหมอแนะนำ เพื่อให้ผิวลูกน้อยกับมาเนียนสวย ผิวแข็งแรง ลดโอกาสเกิดผดผื่นต่างๆ ลดการเกิดซ้ำอีกด้วยค่ะ
“ เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้ ”
ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์คลิก
Inbox : http://m.me/regagarth
Line : @regagar ( https://bit.ly/3cNxa0D )
Comments