ผิวไหม้ เบิร์นแดด ปัญหาผิวหน้าร้อน ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง!! ยิ่งช่วงนี้อากาศเมืองไทยร้อนแรงมาก เหมือนมีพระอาทิตย์อยู่ติดตัว คุณพ่อคุณแม่ยิ่งต้องระวังผิวลูกน้อยเป็นพิเศษ เพราะแดดยิ่งแรงก็ยิ่งทำร้ายผิวลูกน้อยได้มากขึ้นตามไปด้วย
ถ้าไม่อยากให้ลูกน้อยผิวไหม้ ผิวคล้ำเสีย ผิวหมอง ผิวลอก ผิวอักเสบ จากการโดนแดดเบิร์น ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาผิวอื่น ๆ ตามมาก คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องหาวิธีการป้องกัน และการดูแลผิวลูกน้อยทุกครั้งทั้งก่อนและหลังออกแดด ซึ่งวันนี้เราก็มีข้อมูลดี ๆ ในป้องกันปัญหาผิวนี้มาฝากกันค่ะ
ผิวไหม้ เบิร์นแดด คือ
ก่อนที่จะไปดูวิธีการดูแลรักษา วิธีการป้องกันเรามาทำความรู้จักกับอาการผิวไหม้ หรือผิวเบิร์นแดดกันก่อนเลย
ผิวไหม้แดด ( Sunburn ) คือ ภาวะของผิวที่เกิดการอักเสบแดง รวมไปถึงการแสบร้อนที่ผิวหนัง สามารถเกิดขึ้นได้บนผิวหนังทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น หน้า ตัว ดวงตา ริมฝีปาก หรือแม้แต่หนังศีรษะ ก็สามารถเกิดปัญหาผิวเบิร์นแดดได้เช่นกัน สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเกิดปัญหาผิวไหม้นั้นก็เกิดจากการได้รับแสง UV หรือรังสีอัลตราไวโอเลตนานเกินไป ซึ่งไม่ได้มีแค่รังสี UV จากธรรมชาติเท่านั้นที่ทำให้ผิวไหม้ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังรังสี UV เทียมด้วย อย่างเช่น หลอดไฟยูวี ตู้อบผิวแทน รวมไปถึงน้ำทะเล หรือหาดทรายที่สะท้อนรังสี UV มาสู่ผิวและร่างกายของลูกน้อยได้นั่นเอง
อาการของผิวไหม้แดด หรือ Sunburn
ในผู้ใหญ่อย่างคุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้เวลาในการโดนรังสี UV นานกว่าลูกน้อยถึงจะมีปัญหาผิวไหม้ แต่ในเด็กเล็ก หากอยู่ในที่แจ้งและผิวรับแสง UV เป็นเวลาเพียงแค่ 15 นาทีก็สามารถทำให้ลูกน้อยต้องเจอกับปัญหาผิวเบิร์นได้เลย ซึ่งอาการที่จะแสดงออกมา จะเริ่มจากเบาและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยทิ้งไว้ อาการแต่ละช่วงมีดังนี้
ผิวแสบร้อน ไม่สบายตัว ซึ่งจะแสบร้อนผิวบริเวณที่โดนแสงแดด หรือแสง UV และจะเริ่มแดงขึ้นเรื่อย ๆ
ผิวแดง บวม พอง ผิวลอก เมื่อปล่อยผิวลูกน้อยทิ้งไว้นาน ๆ อาการนี้ก็จะเริ่มตามมา คือผิวในส่วนที่ไหม้แดด จะเริ่มแดงขึ้น และพองเป็นตุ่มน้ำ สุดท้ายไม่นานผิวลูกน้อยก็จะค่อย ๆ ลอกออกมาเป็นแผ่น ๆ หรือตุ่มแตกออกจะยิ่งทำให้ผิวลูกน้อยติดเชื้อได้ง่าย ผิวบอบบางลงด้วย และจะทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอกัน ผิวเป็นด่าง หรือเป็นดวงขาวอีกด้วย
นอกจากนี้การให้ลูกน้อยโดนรังสี UV นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นรังสีจากธรรมชาติ หรือรังสีเทียม ก็อาจเสี่ยงให้ลูกน้อยเป็นโรคลมแดด ผดร้อน ผื่นแพ้เหงื่อต่าง ๆ ได้ และเมื่อรังสีเหล่านี้สะสมอยู่ในชั้นผิวมาก ๆ ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ด้วยเช่นกัน
วิธีดูแลและป้องกันผิวไหม้ ผิวเบิร์นแดด
เลี่ยงการพาลูกน้อยออกแดดในช่วง 9 โมง – บ่าย 2 โมง เพราะเป็นช่วงที่แดดจัดและอันตรายต่อผิวเด็กมาก ๆ หากต้องการพาลูกน้อยออกไปเดินเล่นนอกบ้าน แนะนำให้พาไปในช่วงเช้าตรู่ หรือตอนเย็นหลัง 4 โมงเย็น ( ดูตามสมควร หากแดดยังจัดก็ไม่เหมาะที่จะพาลูกน้อยออกไป ) เนื่องจากช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่แดดอ่อน ๆ รังสี UV ไม่เป็นอันตรายต่อผิวลูกน้อยมากนัก
เลือกเสื้อผ้าที่กัน UV ได้ดี ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่บางเกินไปหากจะต้องออกไปในที่ที่แดดจัด เนื่องจากรังสี UV เหล่านั้นจะสามารถทะลุเสื้อผ้ามาทำร้ายผิวของลูกน้อยได้ แต่หากใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปก็อาจจะทำให้ลูกน้อยเกิดผดร้อนตามมาได้ ดังนั้นการเลือกเสื้อผ้าที่มีเทคโนโลยีในการป้องกันแสง UV ได้จะดีที่สุด
ใส่หมวกปีกว้าง ซึ่งหมวกปีกกว้างนี้จะเป็นเหมือนร่มติดตัวลูกน้อย ป้องกันแสง UV มากระทบผิวลูกน้อยได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
ทาครีมกันแดดเด็ก ข้อนี้ถือว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการปกป้องผิวลูกน้อยจากการโดนแดดเผาไหม้ได้เป็นดี แนะนำให้เลือกเป็นสูตรที่มีสารกันแดด Physical ล้วน เพราะอ่อนโยนสูงสุด ไม่มีสารเคมีที่อาจทำให้ผิวลูกน้อยเกิดผื่นแพ้ได้ และควรมีคุณสมบัติที่ช่วยในการป้องกันแสง UV ไม่ว่าจะเป็น UVA ที่สามารถทะลุเข้าไปทำลายเซลล์ผิวใหม่ที่จะเกิดมา และ UVB ที่มีผลต่อชั้นหนังกำพร้าได้ ดังนั้นกันแดดเด็กที่เลือกให้ลูกน้อยควรป้องกัน UV ทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ดี อย่าง BABY EVERYDAY TOTAL SUNSCREEN SPF50 PA+++ ซึ่งสูตรนี้ผ่านการทดสอบจากสถาบันแพทย์ผิวหนังชั้นนำประเทศฝรั่งเศส รับรองแล้วว่ามี SPF 52.37 PA+++ ที่ปกป้องผิวลูกน้อยจาก UV ต่าง ๆ ได้จริง และยังมีเซรามายด์ที่จำเป็นกับผิวเด็กมาเป็นเกราะป้องกันให้ผิวอีกหนึ่งชั้นด้วย แนะนำให้ทาทุกครั้งก่อนออกแดด และทาซ้ำในระหว่างวันเมื่อผิวโดนแดดจัด และทาซ้ำอีกครั้งหลังออกแดด เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการอักเสบให้กับผิว พร้อมฟื้นฟูผิวหลังโดนแสงแดด และมลภาวะต่าง ๆ อีกด้วย
ดื่มน้ำอยู่เสมอ การเล่นการแจ้ง หรืออยู่ที่ที่แดดจัดมาก ๆ ไม่ได้ส่งผลแค่ผิว แต่ยังส่งผลถึงสภาวะร่างกายด้วย ลูกน้อยอาจเกิดภาวะขาดน้ำได้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยจิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อลดความเสี่ยง
สิ่งที่ควรทำเมื่อลูกน้อยมีอาการผิวไหม้แดด
อาบน้ำเย็น หรือประคบเย็น เมื่อลูกน้อยเริ่มมีอาการผิวไหม้แดง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่เอาผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นแล้วประคบคุมตัวลูกน้อยให้ทั่ว หรืออาบน้ำด้วยน้ำเย็นที่มากขึ้นกว่าปกตินิดหน่อยก็ได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิในชั้นผิว แต่ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัด
ทาโลชั่นปลอบประโลมผิว ที่มีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว หรือทาว่านหางจระเข้ หรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้เช่นกัน ทั้ง 3 อย่างนี้จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกน้อยได้ดี และยังช่วยลดรอยไหม้จากแดดบนผิวให้จางลง และทำให้ผิวกลับมาเนียนสวย สีผิวสม่ำเสมอกันอีกด้วย
หากบริเวณผิวไหม้ของลูกน้อยเริ่มมีอาการพุพอง หรืออาการหนักขึ้น 2-3 วันผ่านไปแล้วไม่หายสักที แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที
“เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้” ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ คลิก Inbox : http://m.me/regagarth Line : @regagar ( https://bit.ly/3cNxa0D )
Comments