top of page

ลูกน้อย ผิวไหม้แดด อันตรายกว่าที่คิด คุณแม่ควรรู้วิธีป้องกัน และการดูแล

ในช่วงหน้าร้อน แดดแรง ๆ ที่แผดเผาผิวเราจนแสบ อาจดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับลูกน้อยแล้ว “ แสงแดด ” กลับไม่ใช่แค่ทำให้ผิวคล้ำหรือแสบแดงเท่านั้น แต่อาจถึงขั้นทำให้ ผิวไหม้แดด จนเกิดอาการบวมแดง พุพอง หรือมีอันตรายที่มากกว่าที่คุณแม่คาดคิด

ผิวไหม้แดด

บทความนี้จะพาคุณแม่มาทำความเข้าใจว่า ผิวไหม้แดดในเด็ก อันตรายอย่างไร สังเกตได้จากอะไร และเราจะสามารถป้องกันลูกน้อยจากภัยเงียบของแสงแดดได้อย่างไร พร้อมแนะแนวทางดูแลผิวหากลูกน้อยโดนแดดเผากันค่ะ


ผิวไหม้แดด ในเด็ก คือ

ผิวไหม้แดด (Sunburn) คือการที่รังสี UV จากแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้ทำลายเซลล์ผิวหนัง ส่งผลให้เกิดอาการแดง แสบ หรือบวมในบริเวณที่โดนแดด โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือทารก ที่ผิวบอบบางมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า จึงไม่สามารถปกป้องตัวเองจากรังสี UV ได้ดีพอ ทำให้เสี่ยงต่อการไหม้แดดได้ง่ายและรุนแรงกว่า

อาการ ผิวไหม้แดด

อาการของผิวไหม้แดดในลูกน้อย

คุณแม่สามารถสังเกตอาการของผิวไหม้แดดของลูกน้อยได้จาก :

  • ผิวแดงจัด มีอาการแสบผิว โดยเฉพาะบริเวณแก้ม หน้า แขน ขา หรือไหล่

  • ลูกน้อยเริ่มงอแง ไม่สบายตัว ร้องไห้มากกว่าปกติ

  • ผิวลอก แห้ง หรือเกิดตุ่มน้ำพอง

  • ในบางรายอาจมีไข้ คลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย หากโดนแดดนานจนเกิดภาวะ ลมแดด (Heatstroke) ซึ่งค่อนข้างจะเป็นอันตรายอย่างมาก


ผิวไหม้แดดของลูกน้อย อันตรายมากกว่าที่คิด

หลายคนอาจคิดว่าแค่ผิวแดง แสบผิวเดี๋ยวก็หาย แต่จริง ๆ แล้วผิวไหม้แดดในเด็กเล็กนั้น สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็น

Sunburn ผิวไหม้แดด

  • ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากผิวสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ

  • เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากมีแผลพุพองจากการไหม้

  • ลมแดด (Heatstroke) ภาวะอันตรายที่ทำให้หมดสติ และร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • ความเสี่ยงต่อโรคผิวหนังเรื้อรังในอนาคต เช่น มะเร็งผิวหนัง จากการได้รับรังสี UV ซ้ำ


วิธีป้องกันผิวไหม้แดดให้ลูกน้อย

ผิวไหม้แดด

  1. หลีกเลี่ยงออกแดดช่วง 10.00 - 16.00 น. : เพราะเป็นช่วงที่แสงแดดแรงที่สุด รังสี UV เข้มข้นที่สุด หากต้องออกนอกบ้าน ควรเลือกอยู่ในที่ร่ม หรือนำร่ม หมวก หรือผ้าคลุมมาบังแดด

  2. ใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกาย : เลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้ายแขนยาว กางเกงขายาว และสวมหมวกปีกกว้าง ช่วยปกป้องผิวจากแดดโดยตรง

  3. ใช้ครีมกันแดดสำหรับเด็ก : เลือกครีมกันแดดสูตรอ่อนโยนสำหรับผิวเด็กโดยเฉพาะ ควรมี SPF 30 ขึ้นไป และป้องกันได้ทั้ง UVA/UVB ทาครีมก่อนออกแดดประมาณ 15-30 นาที และหากลูกยังอยู่กลางแจ้งควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง

  4. ให้ลูกดื่มน้ำบ่อย ๆ : การดื่มน้ำจะช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำจากผิว และช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีขึ้น


วิธีดูแลเมื่อลูกน้อยมีอาการผิวไหม้แดด

หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการ ผิวไหม้แดด ควรรีบดูแลอย่างถูกวิธีเพื่อลดความรุนแรงของอาการ ดังนี้

ผิวไหม้แดด

  1. ทำให้ผิวเย็นลงทันที : ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นสะอาดลูบบริเวณผิวที่แดง หรือให้อาบน้ำอุณหภูมิปกติ เพื่อช่วยลดอาการร้อนผิว แต่ไม่ต้องเย็นจัด เพราะร่างกายอาจปรับอุณภูมิไม่ทัน

  2. ทาเจลว่านหางจระเข้ หรือโลชั่นสูตรอ่อนโยน : เลือกสูตรที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือสารเคมีรุนแรง เพื่อปลอบประโลมผิวที่อักเสบ

  3. ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ : ช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกาย และป้องกันภาวะขาดน้ำ

  4. พักผ่อนให้เพียงพอ :  ร่างกายจะได้ซ่อมแซมผิวหนังที่ถูกทำร้ายจากแสงแดดได้ดีขึ้น


คำเตือน : หากมีไข้สูง อาเจียน หรือผิวพองเป็นแผล ควรพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นอาการของลมแดด/ไข้แดด หรือการติดเชื้อที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ได้นั่นเอง


แม้ว่าแสงแดดจะมีประโยชน์กับร่างกาย เช่น การสร้างวิตามินดี แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นภัยร้ายที่ทำลายผิวลูกน้อยได้เช่นกัน การป้องกันไม่ให้ลูกน้อยผิวไหม้แดด เป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจในทุกกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะผิวของเด็กเล็กยังบอบบาง และฟื้นฟูตัวเองได้ช้า เพียงแค่คุณแม่รู้เท่าทันแสงแดด และดูแลผิวลูกให้ปลอดภัยจาก UV ก็ช่วยให้เจ้าตัวเล็กเติบโตอย่างแข็งแรง พร้อมลุยทุกกิจกรรมได้อย่างสดใสค่ะ


“เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้”

ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์คลิก

Line : @regagar ( https://bit.ly/3cNxa0D )




Kommentare


bottom of page