ผื่นแพ้ทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมือ มีอยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละรูปแบบผื่นนั้น มีวิธีดูแลรักษาที่ต่างกันไป จะมีอะไรบ้างนั้น วันนี้เราได้รวบรวมผื่นต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลให้คุณพ่อคุณแม่ได้เตรียมพร้อมรับมือแล้วค่ะ
ผื่นแพ้ เป็นปัญหาผิวของลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลกันมาก และลูกน้อยของสามารถเป็นผื่นแพ้นี้ได้ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากผิวของเด็กทารกนั้นบอบบางมาก ๆ เมื่อไปสัมผัสกับสิ่งใดที่เป็นมลภาวะต่อผิว ก็อาจจะทำให้เกิดผื่นแพ้ขึ้นได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว
ผื่นแพ้ทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมือ มีดังนี้
ผื่นแพ้ทารกโดยส่วนมาก มักเกิดจากการสัมผัสโดนสิ่งที่ทำให้ผิวลูกน้อยระคายเคือง เมื่อผิวที่บอบบางของทารกระคายเคืองก็ทำให้เกิดเป็นผื่นแดง เป็นตุ่มเม็ด ซึ่งรูปแบบจะแตกต่างกันไปตามชนิดของผื่น รวมถึงมีอาการคัน อาการอักเสบ ทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัวร่วมด้วย
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักพบบ่อยที่สุด ถือว่าเป็นผื่นแพ้ทารกเรื้อรัง มักจะเป็น ๆ หาย ๆ ไม่หายสนิท พบมากในช่วงทารกแรกเกิด ซึ่งไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากพันธุกรรมจากพ่อแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ เนื่องจากโรคนี้จะกระตุ้นผื่นชนิดนี้ได้ง่าย หรือสาเหตุอื่น เช่น มลภาวะสภาพแวดล้อมโดยรอบก็เป็นได้ ลักษณะอาการ : มีผื่นแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใส มีอาการคันร่วมด้วย พบได้ทั้งใบหน้า คอ และลำตัว ในเด็กที่โตขึ้น อาจจะมีลักษณะเป็นผื่นแดงปื้น ทั้งที่คอและข้อพับต่าง ๆ หากคุณพ่อคุณแม่ถึงผื่นแพ้ทารกชนิดนี้ไว้นานเกินไป อาจจะทำให้กลายเป็นผื่นหนา และแห้งสากได้ วิธีรับมือดูแลรักษา :
1. เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด หรือใช้เวลาอาบน้ำเป็นเวลานาน ๆ
2. งดการใช้สบู่อาบน้ำที่เป็นด่าง เพราะจะยิ่งให้ผิวลูกน้อยแห้งมากยิ่งขึ้น แนะนำให้เลือกเป็นสูตรออยล์เจล ที่มี pH5.5 ซึ่งใกล้เคียงผิวลูกน้อยที่สุด
3. ทาครีมบำรุงหรือโลชั่นทันทีหลังอาบน้ำทุกครั้ง เป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกน้อย รักษาสมดุลให้ผิวลูกน้อยด้วย แนะนำให้เลือกครีมหรือโลชั่นที่มีเซราไมด์และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อผิวลูกน้อย เพราะจะช่วยให้ชั้นผิวของลูกน้อยแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ไม่เกิดผื่นแพ้ หรือระคายเคืองง่ายอีกในอนาคต
ผื่นแพ้เหงื่อ ผื่นชนิดนี้เป็นผื่นแพ้ที่เกิดได้กับทุกช่วงวัย ไม่ใช่แค่ทารกเท่านั้น มักเกิดขึ้นเมื่ออากาศร้อน หรือทำกิจกรรมที่ทำให้มีเหงื่อออก มีการอับชื้นเหงื่อตลอดเวลา จนเกิดเป็นผื่นอับชื้นได้ หรือบางอาจเกิดจากการแพ้เหงื่อตัวเองทำให้เกิดเป็นผื่น สำหรับลูกน้อยหรือคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ อาจจะทำให้เป็นผื่นแพ้เหงื่อได้ง่าย เพราะภูมิแพ้จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดผื่นนี้เร็วมากขึ้นได้นั่นเอง ลักษณะอาการ : ผื่นเป็นเม็ดคล้ายหยดน้ำเล็กๆ เป็นได้ทั้งผื่นแดง ตุ่มหนอง ผิวเปื่อย มีอาการอักเสบ และคัน อาจมีน้ำใส ๆ ซึมออกมาได้ ในเด็กทารกมักจะเป็นกันมากบริเวณ ซอกคอ ข้อพับต่าง ๆ หรือแม้กระทั้งขาหนีบ รวมไปถึงก้นด้วย
วิธีรับมือดูแลรักษา : 1. หลีกเลี่ยงอากาศร้อน แนะนำให้ลูกน้อยอยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเท หรืออยู่ในที่ที่เปิดแอร์อยู่ตลอด
2. เลี่ยงการสวมเสื้อผ้าหนา ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบายให้ลูกน้อย
3. อาบน้ำให้ลูกน้อยด้วยโฟมอาบน้ำที่มีส่วนช่วยลดการอับชื้นเหงื่อ ลดคราบเหงื่อไคลตามผิวลูกน้อย แนะนำให้เลือกเป็น pH5.5 เพราะอ่อนโยนต่อผิวลูกน้อยที่สุด และจะทำให้แผลสมานหายเร็วขึ้น
4. บำรุงผิวลูกน้อยด้วยโลชั่นทุกครั้งหลังอาบน้ำ แนะนำให้เลือกโลชั่นที่มีส่วนช่วยในการลดผื่นแพ้เหงื่อ หรือผื่นอับชื้น และช่วยบรรเทาอาการอักเสบแดง
หากในระหว่างวันลูกน้อยมีเหงื่อออกมาก แนะนำให้อาบน้ำให้ลูกน้อยอีกครั้ง หรือคอยซับเหงื่อออกจากผิวลูกน้อยบ่อย ๆ งดการทาแป้งบริเวณที่เป็นผื่นอับชื้น เพราะจะยิ่งทำให้เป็นผื่นมากขึ้น อับชื้นมากขึ้นได้นั่นเอง
ผื่นแพ้ผ้าอ้อม มักเกิดกับทารกตั้งแต่วัย 4 – 12 เดือน สาเหตุมาจากการอับชื้น หรือเสียดสีกับผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ๆ โดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยแช่ปัสสาวะหรืออุจจาระในผ้าอ้อม เพราะจะทำให้เกิดการอับชื้นจนเป็นผื่นแพ้ได้นั่นเอง
ลักษณะอาการ : มีผื่นแดง ปื้นแดง อักเสบ หรือไปถึงผิวหนังลอกออกเป็นแผ่น ๆ ได้ มักเป็นบริเวณอวัยวะเพศ ก้น และขาหนีบ ซึ่งอาจจะทำให้ลูกน้อยแสบและคัน จนงอแงได้ วิธีรับมือดูแลรักษา : 1. พยายามเปลี่ยนผ้าอ้อมทันทีเหมือนผ้าอ้อมของลูกน้อยเต็ม และทำความสะอาดด้วยน้ำให้สะอาด เช็คให้แห้งก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือแพมเพิร์สผืนใหม่
2. ทาครีมที่มีส่วนช่วยลดผื่นแพ้ผ้าอ้อมของลูกน้อย แนะนำให้ทาโลชั่นร่วมด้วย เพื่อเป็นการลดโอกาสเกิดผื่นซ้ำ โดยให้ทาให้ลูกน้อยเสมอหลังอาบน้ำ หรือทำความสะอาด และทาซ้ำบริเวณที่มีผื่นแพ้
หากลูกน้อยมีผื่นเยอะ คุณพ่อคุณแม่ควรพักการใส่แพมเพิร์ส หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปบ้างในบางเวลา เพื่อให้ผิวลูกน้อยได้ฟื้นฟูนั่นเอง
ผื่นลมพิษ สามารถเป็นได้ทุกช่วงวัย เป็นผื่นแพ้สัมผัสที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่า ผิวลูกน้อยสัมผัสกับสิ่งใดแล้วเกิดผื่นได้นั่นเอง ลักษณะอาการ : มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง บวม มีอาการคัน ยิ่งเกา ผื่นลมพิษก็ยิ่งลามไปเรื่อย ๆ จนทั่วตัว แต่หากลูกน้อยเป็นผื่นลมพิษจากการแพ้อาหาร หรือยา จะมีอาการปากบวม หรือ หลอดลมตีบ หายใจติดขัดจนสังเกตได้ ถือว่าอันตรายมาก ๆ ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที วิธีรับมือดูแลรักษา : 1. คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตว่าลูกน้อยแพ้สิ่งใด แล้วพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น
2 . ทาครีมหรือโลชั่นที่มี Anti - inflammation , Anti – irritation เพื่อลดผดผื่น ลดการแพ้ระคายเคือง บรรเทาอาการคัน อาการอักเสบแดง หากเลือกที่มีเซรามายด์ และกรดอะมิโนด้วยจะดีมาก ๆ เพราะจะทำให้ผื่นหายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำ ผิวแข็งแรงขึ้น ไม่ระคายเคืองง่าย ๆ อีกต่อไป
หากต้องการให้ลูกน้อยทานยาแก้แพ้ ควรให้ทานภายใต้การแนะนำของเภสัชกร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
ผื่นแพ้กลากน้ำนม อาจเกิดจากการแพ้แสงแดด หรือแพ้สบู่ที่มีค่าเป็นด่างมากเกินไป ทำให้เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีที่ชั้นหนังกำพร้า ทำให้ผิวลูกน้อยบางจุดมีสีที่จางกว่าบริเวณอื่น ๆ พบได้ตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะอาการ : ผื่นวงกลมหรือวงรี มีสีขาวกว่าบริเวณผิวหนังปกติ อาจจะมีขุยติดอยู่บาง ๆ มักเกิดบริเวณใบหน้า คอ ไหล่ และแขน วิธีรับมือดูแลรักษา : ต้องบอกก่อนว่าในปัจจุบันยัง ไม่มีตัวยาที่สามารถรักษากลากน้ำนมได้โดนตรง แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลี่ยงสิ่งที่ลูกน้อยแพ้ และบำรุงต่อเนื่องจนผื่นกลากน้ำนมหายได้ด้วยวิธีดังนี้
1. เลี่ยงการพาลูกน้อยไปออกแดด โดนแสง UV เป็นเวลานาน ๆ
2. ไม่อาบน้ำ หรือล้างหน้าลูกน้อยด้วยสบู่ที่มีค่าเป็นด่างสูง แนะนำให้ใช้โฟมอาบสระที่มีค่า pH5.5 เพราะอ่อนโยนสูงสุด
3. ทาครีมบำรุงทาบริเวณที่มีผื่นกลากน้ำนมตามใบหน้า และโลชั่นทาบริเวณลำตัว แนะนำให้เลือกสูตรที่ลดการอักเสบได้ และเสริมให้ชั้นผิวลูกน้อยแข็งแรงขึ้น เพื่อให้เม็ดสีกลับมาทำงานได้เป็นปกติ อาจจะต้องใช้เวลา 1-3 เดือน เพื่อให้สีผิวลูกน้อยกลับมาสม่ำเสมอกัน
4. หลังจากลงครีมบำรุงเรียบร้อยแล้ว ให้ทาครีมกันแดดปกป้องผิวให้ลูกน้อยทุกครั้งด้วย เพื่อให้ผิวลูกน้อยถูกแสงแดดน้อยที่สุด แนะนำให้เลือกเป็นแบบ Physical ล้วน เพื่อความปลอดภัยต่อผิวเด็ก และเพื่อสะท้อนรังสี UV ต่าง ๆ ออกจากผิวลูกน้อยได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
ผื่นแพ้น้ำลาย เกิดจากผิวสัมผัสชื้นน้ำลาย หรือมีคราบนมของลูกน้อยสะสมอยู่ ทำให้ผิวลูกน้อยระคายเคือง จนเกิดเป็นผื่น ลักษณะอาการ : เป็นผื่นแดงรอบบริเวณปากของลูกน้อย หากปล่อยไว้ไม่ดูแล อาจจะทำให้เป็นผื่นแดงหนาขึ้น และผิวลอกเป็นขุยได้ เพราะผิวแห้งลง และอาจจะทำให้กลายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้เลย วิธีรับมือดูแลรักษา : 1. หมั่นเช็ดความสะอาดรอบปากของลูกน้อย เลี่ยงไม่ให้มีน้ำลาย หรือคราบน้ำนมชื้นอยู่ 2. ทาครีมที่มี Anti - inflammation , Anti – irritation ลดผื่น ลดอาการอักเสบแดงคันได้ด้วย และควรเลือกที่มีเซรามายด์ที่จำเป็น เพื่อบำรุงชั้นผิวลูกน้อยให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ทาทุกครั้งหลังอาบน้ำ และทาซ้ำบริเวณที่มีผื่นด้วย เพื่อให้ผื่นหาย ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
ผื่นไขมัน หรือ ต่อมไขมันอักเสบ หรือ สะเก็ดไขมัน เริ่มเป็นกันตั้งแต่ประมาณช่วงวัย 1-3 เดือน สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจจะเกิดจากการทำงานผิดปกติของต่อมไขมัน และมีการอักเสบเกิดขึ้น ลักษณะอาการ : เป็นผื่นหนา สะเก็ดเหลืองเหนียว บางครั้งอาจจะมีลักษณะเป็นขุย ๆ เหมือนหนังศีรษะแห้งลอก มักเป็นกันบริเวณศีรษะ ไรผม หลังหู หน้าผาก หว่างคิ้ว วิธีรับมือดูแลรักษา : เตือนก่อนว่าคุณพ่อคุณแม่ ห้ามแกะ แคะ เกาสะเก็ดออกเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้หนังศีรษะ หรือผิวบริเวณนั้นอักเสบมากขึ้น และเป็นแผลเป็นได้ วิธีที่ถูกต้องคือ 1. เลือกใช้ออยล์เจลอาบสระให้ลูกน้อย โดยเน้นเป็นออยล์ธรรมชาติ ไม่มีปิโตรเลี่ยมออยล์ เพราะอาจจะเสี่ยงให้แพ้มากขึ้น ตัวออยล์ธรรมชาติจะช่วยเข้าไปสมานแผลของลูกน้อย และทำให้ผื่นไขมันของลูกน้อยนิ่มลงจนหลุดออกไปเอง แบบไม่ทิ้งรอยแผลเลยทีเดียว
2. บริเวณหน้าผาก หลังหู หรือที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่บริเวณหนังศีรษะ ให้ทาครีมบำรุงที่มีเซราไมด์เป็นประจำ เน้นทาบริเวณที่เป็นผื่น เพื่อให้ผิวแข็งแรง ผื่นหาย ลดการกลับมาเป็นซ้ำด้วยนั่นเอง
ผื่นทารก ทั้งหมดของลูกน้อยสามารถหายเองได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานก็อาจจะทำให้ผิวลูกน้อยอ่อนแอลง และเป็นผื่นหนามากขึ้นได้ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลชั้นผิวของลูกน้อยให้แข็งแรงตั้งแต่แรกเกิดด้วย ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเด็กเกรดพรีเมี่ยม คิดค้นโดยแพทย์ พญ. ทรรศชนก มโนรมณ์ คุณหมอในฐานะแม่ จึงเข้าใจผิวลูกน้อยที่สุด ให้ผื่นต่าง ๆ ไม่มารบกวนผิวลูกน้อย ให้ผิวลูกน้อยแข็งแรงสุขภาพดี ผื่นที่เคยมีก็หายขาด ลดโอกาสเกิดซ้ำไปได้เลย
Comments