top of page
Writer's pictureregagar

ผื่นแพ้ ในเด็กมีกี่ประเภท อะไรบ้าง และควรดูแลอย่างไร

ผื่นแพ้ เป็นปัญหาผิวที่เกิดขึ้นกับทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่บางกลุ่มคนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดผื่นแพ้มากกว่าคนอื่น เช่น เด็ก คนที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นภูมิแพ้ คนที่มีผิวแห้ง คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ คนที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่มีสารก่อภูมิแพ้สูง คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว หรือแม้แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ก็สามารถทำให้เกิดผื่นแพ้ได้เช่นกัน

ผื่นแพ้

ผื่นแพ้ คือ

ผื่นแพ้ (Allergic Rash) คือปฏิกิริยาทางผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการตอบสนองต่อสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ (Allergen) ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัยหลากหลายสาเหตุ เช่น สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร แมลง หรือแม้แต่อากาศและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ผื่นแพ้โดยส่วนใหญ่มักมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ เป็นผื่นแดง มีอาการคันร่วมด้วย ผิวหนังบวมนูน อาจมีตุ่มน้ำใสหรือผื่นตุ่มนูน และอาจมีอาการผิวแห้ง แตก ลอกอีกด้วย แม้ว่าผื่นแพ้จะพบได้กับทุกคน แต่วันนี้เราจะมาดูกันว่ามีผื่นแพ้ชนิดไหนบ้างที่พบได้บ่อยกับเด็ก และจะมีวิธีดูแลรักษาอย่างไรให้ผื่นหาย


ผื่นแพ้ในเด็ก

โดยทั่วไปแล้วผื่นแพ้ในเด็กสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดังต่อไปนี้

1. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)  เป็นผื่นที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็ก มักเกิดจาก

  • พันธุกรรม อาจมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้

  • ผิวแห้ง ที่ถูกปล่อยไว้เป็นเวลานานไม่รับการดูแล จนทำให้ผิวแห้งอักเสบเรื้อรัง

  • สารระคายเคือง เชื้อแบคทีเรีย สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

ลักษณะของผื่น :  เป็นตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำใส มักพบบริเวณใบหน้า แก้ม ข้อพับแขนขา ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย มีอาการคันร่วมด้วย โดยเฉพาะเวลาร้อนหรือมีเหงื่อออก

วิธีการดูแลรักษา : 

  • ทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว เน้นเลือกที่มีวิตามินที่เหมาะกับผิวลูกน้อย หากมี OMEGA 3,6,9 ด้วยจะเป็นการเสริมเกราะป้องกันให้ผิวลูกน้อยได้ยิ่งดี เพราะจะทำให้ลดการระคายเคือง ลดโอกาสการเกิดผดผื่นได้อย่างดี

  • หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น สบู่ก้อน เนื่องจากมีความเป็นด่างสูง จะยิ่งทำให้ผิวเด็กแห้งมากขึ้น แนะนำให้เลือกเป็นผลิตภัณฑ์อาบน้ำสูตรออยล์หรือโฟม ที่มีค่า pH5.5 ใกล้เคียงผิวเด็ก จะช่วยในการเพิ่มความชุ่มชื้นได้ และป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากชั้นผิวในระหว่างการอาบน้ำได้เป็นอย่างดี

  • รักษาอุณหภูมิห้องให้อยู่ที่ 20-25 องศา หรืออุณหภูมิที่เหมาะสม

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีให้ลูกน้อย

  • พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากผื่นมีอาการอักเสบหรือติดเชื้อ


2. ผื่นแพ้จากการสัมผัส (Contact Dermatitis) เป็นการระคายเคืองหรือการอักเสบของผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น สบู่ ผงซักฟอก โลชั่น น้ำหอม โลหะบางชนิด ฝุ่นควัน เป็นต้น

ผื่นแพ้ สัมผัส

ลักษณะของผื่น :  เป็นผื่นแดง อักเสบ มีอาการคันรุนแรงในบริเวณที่มีผื่น อาจทำให้เกาจนผิวหนังแตกหรือมีแผล มีตุ่มน้ำใส ผิวหนังแห้งและลอก มีอาการบวบบริเวณที่มีอาการแพ้

วิธีการดูแลรักษา :

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารที่ทำให้เกิดการแพ้

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและเหมาะสมกับผิวเด็ก

  • ทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวเพื่อรักษาความชุ่มชื้น และลดการอักเสบ บรรเทาอาการคัน

  • หากอาการไม่ดีขึ้นหรือรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม


3. ผื่นแพ้จากอาหาร (Food Allergy)  เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองต่อโปรตีนในอาหารบางชนิด ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ (allergic reaction) เช่น นมวัว ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ วอลนัท อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย ปลาชนิดต่าง ๆ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี เป็นต้น

ผื่นแพ้ อาหาร

ลักษณะของผื่น : มักปรากฏในรูปแบบของผื่นแดงที่กระจายทั่วร่างกาย มีอาการคันรุนแรงบริเวณที่มีผื่น อาจมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ บนผิวหนัง อาจเกิดอาการบวมบริเวณผื่นหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปาก ตา หรือลิ้น และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย อาเจียน หายใจลำบาก ควรพบแพทย์ทันที แสดงให้เห็นว่ามีอาการแพ้อย่างรุนแรง

วิธีการดูแลรักษา :

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้

  • อ่านฉลากอาหารอย่างละเอียดเพื่อหลีกเลี่ยงส่วนประกอบที่แพ้

  • ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเพื่อตรวจสอบอาหารที่เป็นสาเหตุ


4. ผื่นแพ้จากแมลง (Insect Bite Allergy)  เกิดจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อพิษหรือสารเคมีที่แมลงปล่อยเข้าสู่ผิวหนังเมื่อกัดหรือต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ยุง เห็บ เป็นต้น อาการแพ้ที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของแมลงและระดับความไวของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ถูกกัดหรือต่อย

ผื่นแพ้ แมลง

ลักษณะของผื่น : บริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยมักจะมีผื่นแดงและบวม คันรุนแรง ในบางกรณีที่รุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจลำบาก หรือมีอาการแอนาฟีแล็กซิส คือ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ บวมทั้งใบหน้า ลำคอ คลื่นไส้ อาเจียน ควรพบแพทย์ทันที อาจอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีการดูแลรักษา :

  • ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อย  แนะนำให้ใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยกำจัดแบคทีเรีย เชื้อโรค เพื่อให้ลดการติดเชื้อได้

  • ทายาเพื่อลดอาการคัน บวม และการอักเสบของผิว

  • ประคบเย็นบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยเพื่อช่วยลดอาการบวมและคัน

  • หลีกเลี่ยงการเกา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

  • สวมเสื้อผ้าป้องกัน เมื่ออยู่ในบริเวณที่มีแมลงชุกชุม

  • หากมีอาการรุนแรง ควรพบแพทย์ทันที


5. ผื่นแพ้จากอากาศ (Atopic Dermatitis หรือ Eczema)  เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากหลายปัจจัย

  • พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) หรือผื่นแพ้ทางผิวหนัง จะเพิ่มโอกาสในการเกิดผื่นนี้ได้

  • สภาพอากาศเย็นและแห้ง หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วสามารถกระตุ้นการเกิดผื่นแพ้ได้

  • สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ หรือเชื้อราในอากาศ

ผื่นแพ้ อากาศ

ลักษณะของผื่น : ผื่นมีลักษณะเป็นสีแดงและบวม คันร่วมด้วย ผิวหนังอาจแห้ง แตก และมีลักษณะเป็นขุย ในกรณีที่เป็นเรื้อรัง ผิวหนังอาจเป็นผื่นหนาและแข็ง

วิธีการดูแลรักษา :

  • รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง โดยใช้ครีมหรือโลชั่นทาบำรุงผิวเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวทันทีหลังอาบน้ำ หากผิวแห้งมากควรทาในระหว่างวันด้วยเช่นกัน

  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนและการใช้สบู่ที่มีความเป็นด่างสูง ควรเลือกสูตรที่เป็นออยล์หรือโฟมที่มีค่า pH 5.5 เพราะใกล้เคียงกับผิวเด็ก สามารถเพิ่มความชุ่มชื้น กักเก็บความชุ่มชื้นในผิวได้เป็นอย่างดี และยังป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากชั้นผิวในขณะอาบน้ำอีกด้วย

  • รักษาความสะอาดของบ้านและเครื่องนอน เพื่อลดปริมาณฝุ่นและไรฝุ่น


6. ผื่นแพ้จากยา (Drug Allerg)  เป็นปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายตอบสนองต่อยาเหมือนกับเป็นสารแปลกปลอม ส่งผลให้เกิดอาการแพ้ที่อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ทั้ง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อยาโดยการสร้างแอนติบอดีเพื่อต่อต้านสารในยา และ การใช้ยาร่วมกับยาหรือสารเคมีอื่น ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการแพ้

ผื่นแพ้ ยา

ลักษณะของผื่น : เป็นผื่นแดงที่อาจมีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นกระจายทั่วร่างกาย มีอาการคันรุนแรง บริเวณที่มีผื่นอาจบวมและอักเสบ อาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ไข้ คลื่นไส้ หายใจลำบาก หรืออาการแอนาฟีแล็กซิส ที่เสี่ยงถึงชีวิตได้

วิธีการดูแลรักษา :

  • หยุดใช้ยาทันที หากสงสัยว่ามีอาการแพ้จากยา ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์ทันที

  • ประคบเย็นบริเวณที่มีผื่นเพื่อช่วยลดอาการบวมและคัน

  • ใช้ยาต้านฮิสตามีนหรือยาสเตียรอยด์ตามที่แพทย์สั่ง

  • ควรพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาและวินิจฉัยที่ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้



การดูแลและป้องกันผื่นแพ้ในเด็กควรใส่ใจในเรื่องของการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพ้ และรักษาความสะอาดของผิวหนังเสมอ เพื่อให้ผิวหนังของเด็กแข็งแรงและลดโอกาสในการเกิดผื่นแพ้ได้ และหากสังเกตแล้วว่าเด็กเริ่มมีอาการอื่นๆ รุนแรงนอกจากผื่นแพ้ ควรพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์การวินิจฉันและรักษาได้ทันท่วงที

“เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้” ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์คลิก Inbox : http://m.me/regagarth Line : @regagar ( https://bit.ly/3cNxa0D )


Comments


bottom of page