top of page
Writer's pictureregagar

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ในเด็ก คืออะไร ควรดูแลอย่างไร

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ในทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม แต่ที่พบมากที่สุดขึ้นในเด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วงก่อนวัน 1 ปี หากลูกน้อยเริ่มเป็นโรคนี้แล้วไม่รีบรักษาอาจจะทำให้เป็นเรื้อรัง ผิวอ่อนแอบอบบางไปถึงตอนโตได้

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

ดังนั้นวันนี้เรามาดูไปพร้อมกันว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ในเด็ก คืออะไร มีลักษณะอาการ และสาเหตุเกิดจากอะไร หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่เป็นผื่นชนิดนี้ควรจะดูแลอย่างไร เพื่อให้ผิวลูกน้อยแข็งแรงขึ้น


โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ในเด็ก คือ

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก หรือชื่อทางการแพทย์เรียกว่า Atopic Dermatitis ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากโครงสร้างผิวหนังของเด็กมีความผิดปกติ มีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดผื่นแพ้ อาจเป็นสารชนิดต่างๆ เช่น อาหาร สารเคมี สารแพ้ในสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่มาสัมผัสกับผิวหนัง เมื่อเด็กที่มีโรคภูมิแพ้มาสัมผัสกับสารแพ้ จะเกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยเกิดอาการผื่น อาจมีคัน แดง บวม เป็นต้น

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

นอกจากนี้ความผิดปกติของโครงสร้างผิว ยังทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ จนผิวแห้งและอักเสบได้ง่ายซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ไปจนถึงบางรายอาจมีอาการเฉียบพลัน ผิวอักเสบรุนแรง จนเป็นผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังได้


อาการของ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กคือ

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กจะแสดงอาการบ่งชี้ออกมาอย่างชัดเจน มักเริ่มจากอาการผิวแห้งมาก หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้ผิวที่แห้งมากนั้น กลายเป็นผิวแตก และอักเสบ เป็นผื่นแดงขึ้นเรื่อย ๆ ร่วมถึงมีอาการคันร่วมด้วย โรคนี้มันเป็นที่บริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขน ขา ข้อเท้า ข้อพับต่าง ๆ ของร่างกาย


ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก

สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยมีปัญหาผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนั้น เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน

สาเหตุผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

  • ปัจจัยภายนอก มีทั้งสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ อาหาร หรือมลภาวะแวดล้อมภายนอกมากมาย เช่น ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ หญ้า ทราย ดินโคลน หรือโลหะหนักในอากาศก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้เช่นกัน

  • ปัจจัยภายใน คือความผิดปกติภายในโครงสร้างผิวหนัง และยังรวมไปถึงเรื่องของพันธุกรรมที่ส่งต่อมาจากคุณพ่อคุณแม่ จากข้อมูลในงาน World Atopic Dermatitis Day 2020 พบว่าเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่เป็นโรคภูมิแพ้ มีโอกาสเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเพียง 28% แต่สำหรับลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่เป็นภูมิแพ้มีโอกาสเป็นโรคนี้สูงถึง 58% เลยทีเดียว จึงสรุปได้ว่าหากคุณพ่อคุณแม่มีโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้ หรือเคยเป็นภูมิแพ้ ก็มีโอกาสที่จะส่งต่อไปยังลูกน้อยได้นั่นเอง

วิธีการดูแลโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กให้ลูกน้อย

การดูแลผื่นภูมิแพ้ผิวหนังให้ลูกน้อยหาย ผิวแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ลดโอกาสการเกิดผื่นซ้ำทำได้ไม่อยากสามารถทำตามได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

  • เน้นเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว - งดการอาบน้ำอุ่นจัด แนะนำให้อาบน้ำในอุณหภูมิปกติ และไม่ควรให้ลูกน้อยแช่น้ำนานเกินไป เวลาที่เหมาะสมคือ 5 – 15 นาที / ครั้ง ควรอาบน้ำเพียงวันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกน้อยอาบน้ำที่อุ่นเกินไปและแช่น้ำนานเกินไปจะทำให้ผิวลูกน้อยเกิดการสูญเสียน้ำออกจากชั้นผิว ทำผิวแห้งได้นั่นเอง - เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็กที่มีค่า pH5.5 เพราะใกล้เคียงกับผิว และควรเลือกเป็นสูตรออยล์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ไม่ควรใช้สบู่ก้อน หรือสบู่อาบน้ำผู้ใหญ่ เพราะมีค่าความเป็นด่างสูงยิ่งทำให้ผิวลูกน้อยแพ้ หรือสูญเสียน้ำทำให้แห้งสากมากกว่าเดิมได้ นอกจากนี้การใช้ออยล์อาบน้ำ ควรเลือกเป็นออยล์ธรรมชาติ เพื่อให้ออยล์ซึมเข้าไปสมานแผล ลดผดผื่น ทำให้ผิวแข็งแรงขึ้นด้วย - ทาครีมบำรุงผิวเด็ก แนะนำเลือกเป็นสูตรที่มีส่วนช่วยลดผดผื่น บรรเทาอาการคัน ลดการอักเสบ และควรมี OMEGA 3,6,9 เซรามายด์ และกรดอะมิโนที่จำเป็น เพื่อเสริมชั้นผิวลูกน้อยให้แข็งแรง ลดโอกาสการเกิดผื่น และลดการกลับมาเป็นซ้ำด้วย นอกจากนี้หากเลือกครีมที่มีวิตามิน B รวม และวิตามิน E ด้วยจะยิ่งดีกับผิวลูกน้อย เพราะจะเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตว่าลูกน้อยสัมผัสสิ่งให้แล้วเกิดผื่นแพ้ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น


อย่างไรก็ตามหากคุณแม่สังเกตอาการของลูกน้อยแล้วพบว่ามีอาการเยอะมากขึ้น และไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยพบกับคุณหมอเฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและวิธีทางการรักษาที่ตรงจุด




“ เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้ ”

ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์

คลิก Inbox : http://m.me/regagarth

Line : @regagar ( https://bit.ly/3cNxa0D)

Commentaires


bottom of page